วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ต้นไม้ประจำจังหวัดมุกดาหาร

ช้างน้าว


ชื่ออื่น : กระแจะ, กำลังช้างสาร,ตาลเหลือง
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Ochna integerima (Lour.) Merr.
วงศ์ : OCHNACEAE
ช้างน้าวเป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก สูง 5-8 เมตร ฟอร์มต้นสวย หามาจัดสวนยาก นานๆจะเจอแบบฟลุ๊ค หรือ ต้องสั่งให้หา เปลือกผิวของลำต้นแตกเป็นร่องลึกตามยาวสีน้ำตาลเข้ม ผลัดใบก่อนออกดอก ดอกช่อออกเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง เป็นไม้ดอกหอมผลเมื่อสุกสีดำมีเมล็ดแข็ง
ช้างน้าว มี เนื้อไม้แข็งมาก ชาวบ้านเอาไปทำฟืนเผาถ่านซะเยอะ เพราะไม่รู้ว่าต้นอะไร อยู่ตามหัวไร่ปลายนาเกะกะบังร่มเงาพืชไร่ ก็สุมโคนเผาไฟซะ เสียดายจัง

ต้นไม้ประจำจังหวัด อุดรธานี

ทองกว

ชื่อสามัญ : Flame of the Forest
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Butea frondosa.,Roxb.
ชื่ออื่น : ทองกวาว,ทองธรรมชาติ, จาน
วงศ์ : PAPILIONACEAE
ถิ่นกำเนิด : ประเทศไทย และอินเดีย
ทองกวาวเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางผลัดใบ สูงประมาณ 12-15 เมตร ทรงพุ่มโปร่ง มีกิ่งก้านสาขาไม่มากนัก ออกใบเป็นใบรวม ใบรูปมนเกือบกลมกลางใบกว้างออกใบเป็นแผง แผงละ 3 ใบ ดอกออกเป็นช่อเรียงกันติดแน่นตามกิ่งส่วนยอด เมื่อออกดอกมักทิ้งใบเกือบหมด ดอกมีรูปร่างคล้านดอกแค มีสีแดงสดใสสวยงามมากจริงๆ ออกดอกปีละครั้งในเดือน มกราคม-เดือนกุมภาพันธ์ทองกวาวมักขึ้นอยู่ตามที่ราบ พบมากในภาคเหนือและภาคอิสานของไทย พันธุ์ไม้ชนิดนี้ชาวชนบทนิยมปลูกไว้เลี้ยงครั่ง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด และตอน ขึ้นได้ดีในสภาพดินทุกชนิด

ต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์

กันเกรา



ชื่อสามัญ : Tembusa
ชื่ออื่น : กันเกรา , มันปลา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Fagraea fragrans Roxb.
ดอก หอมออกดอกราวเดือน เมษายน-มิถุนายนบ้านไหนปลูกไว้คงได้กลิ่นแล้ว เป็นหนึ่งในไม้มงคลเก้าชนิดเหมือนกัน ความหมายของกันเกราคือป้องกันภัยอันตรายต่างๆ กันเกราเป็นไม้เนื้อแข็ง นิยมเอามาทำเสาเรือน ทางภาคอีสานเรียก ตำเสา หรือมันปลา

ต้นไม้ประจำจังหวัด นครราชสีมา

สาธร

ชื่อพฤกษศาสตร์ : Millettia leucantha Kurz var. buteoides (Gagnep.) P.K.Loe.
ชื่ออื่น : สาธร, สะท้อน
วงศ์ : LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE
ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 5-18 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดโปร่งแผ่กว้าง ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ช่อดอกแบบแยกแขนง ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกย่อยรูปถั่ว กลีบดอกสีขาว หรือ ม่วงอ่อน เนื้อไม้แข็งเหนียวใช้ในงานก่อสร้าง

ต้นไม้ประจำจังหวัดบุรีรัมย์

แปะ
ชื่อวิทยาศาสตร์::vitex quinata will
ต้นแปะเป็นไม้เนื้อแข็งทรงพุ่ม ลำต้นตั้งตรงรูปทรงลำต้นมีลักษณะเป็นลอนๆ ผิวเปลือกมีสีขาวนวลหรือสีน้ำตาลอ่อนเมื่อโตเต็มที่วัดขนาดเส้นรอบบริเวณโคนต้นจะได้ความยาวประมาณ 3-4 เมตรและมีความสูงประมาณ 30-40 เมตรลักษณะของใบจะมีก้านใบ และที่ปลายก้านใบมีใบแยกออกเป็น 3 ใบ โดยใบที่อยู่ตรงกลางจะมีขนาดใหญ่กว่าอีก 2 ใบที่ขนาบอยู่ทั้งสองข้าง โดยใบทั้งสามจะมีลักษณะคล้ายใบหอกขอบใบหยักๆคล้ายฟันเลื่อยมีดอกและผลกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซนติเมตร

ต้นไม้ประจำจังหวัด ชัยภูมิ

ขี้เหล็กบ้าน


ชื่อสามัญ : Thai Copper Pod
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Cassia siamea Britt.
ชื่ออื่น : ขี้เหล็ก, ขี้เหล็กบ้าน
วงศ์ : CAESALPINIACEAE
ถิ่นกำเนิด : อินดิสตะวันออก มาเลเซีย อินเดียและศรีลังกา
เป็นไม้ไม่ผลัดใบขนาดกลาง ความสูงประมาณ 10-18 เมตร เห็นชื่อสามัญและชื่อพฤกษศาสตร์แล้วอย่าเข้าใจว่าเป็นไม้ไทยนะ เพราะตอนแรกก็คิดอย่างนั้นเหมือนกัน ถิ่นกำเนิดตามที่ว่า ขี้เหล็กเป็นไม้ที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มตามถนนหนทาง สวนสาธารณะหรือในบ้านก็ได้ ป้องกันลมได้ดี ดอกสีเหลืองสด ออกดอกตลอดปีขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ต้นไม้ประจำจังหวัดหนองบัวลำพู

พะยูง

ชื่อสามัญ : Black Wood , Siamese Rose Wood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dalbergia cochinchinensis
ชื่ออื่น : พยูง
วงศ์ : Legumnoceae
ตามตำราท่านว่าบ้านใดปลูกไม้พยุงไว้ในบริเวณบ้าน ย่อมทำให้บ้านนั้นบังเกิดแต่ความเจริญ มั่นคง พยุง หมายถึงประคับประคองมีความหมายในทางที่ดีคือช่วยพยุงให้มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ยังหมายถึงความสง่ามีราศี เพื่อความขลังและสัมฤทธิ์ผล


ต้นไม้ประจำจังหวัด อำนาจเจริญ

ตะเคียนหิน

ชื่อพฤกษศาสตร์ : Hopea ferrea Laness.
ชื่ออื่น : ตะเคียนหิน, ตะเคียนหนู
วงศ์ : DIPTEROCARPACEAE
ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบสูงประมาณ 15-30 เมตร ลำต้นเปลาตรงและมักบิด เปลือกสีน้ำตาลแก่ เรือนยอดกลมหรือรูปกรวย ใบอ่อนเป็นสีแดงเรื่อ ดอกช่อมีดอกเล็กจำนวนมาก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีประโยชน์ในการนำมาใช้ในงานก่อสร้าง เช่น สร้างบ้าน ต่อเรือ

ต้นไม้ประจำจังหวัดศรีษะเกษ

ลำดวน

ชื่อพฤกษศาสตร์ : Melodorum fruticosum Lour.
ชื่ออื่น : ลำดวน, หอมนวล
วงศ์ : ANNONACEAE
ถิ่นกำเนิด: คาบสมุทรอินโดจีน
ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดรูปกรวยคว่ำและแน่นทึบ ดอกเดี่ยว หรือช่อกระจุก 2-3 ดอก กลีบดอกหนาแข็ง มี หกกลีบสีเหลือง บานอยู่ได้สองวันแล้วโรย ดอกมีกลิ่นหอมเริ่มหอมช่วงพลบค่ำจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น และหอมอ่อนตลอดวัน ผลเมื่อแก่เป็นสีม่วงแดงและเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อสุก รสหวานอมเปรี้ยว ขยายพันธุ์จากการเพาะเมล็ดและกิ่งตอน


ต้นไม้ประจำจังหวัด ยโสธร และ อุบลราชธานี

ยางนา


ชื่อพฤกษศาสตร์ : Dipterocarpus alatus Roxb
ชื่ออื่น : ยางนา
วงศ์ : DIPTEROCARPACEAE
ยางนาไม้ต้นขนาดใหญ่สูง 40เมตรไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรงเปลือกเรียบหนา สีเทาปนขาว เรือนยอดเป็นพุ่มกลม โคนต้นมักเป็นพู ขออภัยที่ต้นนี้ไม่เห็นยอด ดอกสีชมพู ออกเป็นช่อสั้นๆตามง่ามใบที่ปลายกิ่ง ผลกลมมีครีบตามยาวตลอด 5ครีบ ปีกยาว2ปีกไม่เกิน 16 เซนติเมตร ปีกสั้น 3ปีก เป็นรูปหูหนู ออกดอกเดือน มีนาคม-เดือนพฤษภาคม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด จะขึ้นตามที่ราบเป็นกลุ่มๆหรือริมน้ำในป่าดิบทั่วไป

ต้นไม้ประจำจังหวัดมหาสารคาม

พฤกษ์



ชื่อสามัญ : Indian Walnut
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Albizia lebbeck (L.) Benth.
ชื่ออื่น : พฤกษ์, จามรี, มะรุมป่าวงศ์ : MIMOSACEAE
ถิ่นกำเนิด : เอเซียเขตร้อน
พฤกษ์ต้นนี้มีดอกสีเหลืองหรือเหลืองทองซึ่งไม่ใช่จามจุรีที่มีดอกสีชมพู อย่าปนกันนะ ไม้ต้นนี้นิยมปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงาทั่วไป เป็นไม้ผลัดใบขนาดกลาง ความสูงประมาณ 6-12 เมตรเรือนยอดแผ่กว้างดอกเป็นช่อแต่ละช่อดอกรวมกันเป็นช่อใหญ่ เกิดที่ปลายกิ่ง ดอกบานจะมีสีขาวแล้วกลายเป็นสีเหลือง ซึ่งเป็นสีของเกสรตัวผู้ พฤกษ์ ออกดอกฤดูร้อนถึงฤดูฝน ระหว่างเดือน เมษายน-เดือนกันยายน ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและเจริญเติบโตได้ดีในแถบที่มีอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง

ต้นไม้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด


อินทนิลบก



ชื่อพฤกษศาสตร์ : Lagerstroemia macrocarpa Wall.
ชื่ออื่น : อินทนิลบก, จ้อล่อ, กากะเลาวงศื : LYTHRACEAE
ถิ่นกำเนิด : เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
เป็นไม้ที่ปลูกขึ้นง่ายในดินทุกชนิด จึงเป็นที่นิยมนำมาปลูกประดับและให้ร่มเงา เพราะมีพุ่มใบที่หนาทึบและมีดอกขนาดใหญ่สวยงาม อินทนิลบกเป็นไม้ขนาดเล็กถึงขนาดกลางสูงประมาณ 5-12 เมตร ดอกเป็นช่อขนาดใหญ่มีหลายสีในแต่ละช่อดอก ปกติจะมีสี ม่วงเข้ม ม่วงอ่อน ชมพูอมม่วง จนถึงชมพูอ่อนเกือบจะขาว ดอกขนาดใหญ่กว่าอินทนิลน้ำ ออกดอกประมาณเดือน ธันวาคม-เดือนมีนาคม อินทนิลบกขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด จะออกดอกเมื่ออายุประมาณ 4-6 ปีเหมือนกับอินทนิลน้ำ





ต้นไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์

แสมสาร

ต้นไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น

กัลปพฤกษ์


ชื่อสามัญ : Wishing Tree, Pink Shower, Pink Cassia
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Cassia bakeriana Craib
ชื่ออื่น : กัลปพฤกษ์
วงศ์ : CAESALPINIACEAE
ชื่อสามัญ : Pink Shower,Wishing Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia baleriana., Craib.
ถิ่นกำเนิด : ประเทศไทย
ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงชนาดกลางสูงถึง 12 เมตร ชอบขึ้นตามป่าเบญจพรรณเกือบทุกภาคเว้นภาคใต้ ดอกออกเดือน มกราคม-กุมภาพันธุ์ ดอกบานใหม่จะเป็นสีชมพูและค่อยจางเป็นสีขาวใกล้โรย ขณะออกดอก ดอกจะติดกันหนาแน่นตลอดทั่วทุกกิ่งก้านมองสะพรั่งสวยงามมาก ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
ชื่อฝรั่งว่า wishing Tree น่าจะเป็นต้นไม้ที่ฝรั่งขออะไรได้สมปรารถนา



ต้นไม้ประจำจังหวัดนครพนม

ยางบง
(รูปไม่มีค่ะ)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Persea Kurzii Kosterm.
วงศ์ Lauraceae
ท้องถิ่นในเมืองไทยว่า บงปง มง หมี ยางบง (Yangbong)
ไม้บงเป็นพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจมีประโยชน์หลายประการกล่าวคือเป็นพันธุ์ไม้ที่ขึ้นได้ง่าย แตกหน่อได้ดี เนื้อไม้เหมาะสำหรับใช้ในการทำเครื่องมือเครื่องใช้และใช้ทำเชื้อเพลิงเปลือกนำไปทำธูป และผสมสารกำมะถันทำยากันยุงได้ ยางใช้อุดรอยรั่วต่างๆได้ดี ปัจจุบันต้นบงธรรมชาติได้ถูกทำลายลงไปมาก เนื่องจากราษฎรต้องการขูดลอกเปลือกนำไปขาย โดยการตัดโคนต้นบงลงมาเพื่อทำการขูดเปลือก สำหรับไม้บงจัดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ส่วนเปลือกของไม้บงก็เป็นของป่าหวงห้ามด้วย

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ต้นไม้ประจำจังหวัดสกลนคร

อินทนิลน้ำ

ชื่อสามัญ : Queen's Flower, Pride Of India
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Lagerstroemia speciosa (L.) Pers.
ชื่ออื่น : อินทนิล, ตะแบกอินเดีย
วงศ์ : LYTHRACEAE
ถิ่นกำเนิด : ประเทศอินเดีย
อินทนิลน้ำ หรืออินทนิล ใช้เรียกพันธุ์ที่มีดอกสีม่วง ส่วนพันธุ์ที่มีดอกสีชมพูสดเรียก ตะแบกอินเดีย แต่ชื่อทางพฤกษศาสตร์ เหมือนกัน เพราะลักษณะทุกอย่างเหมือนกันเกือบหมดแตกต่างกันที่สีของดอกที่เด่นชัดและความมันของหน้าใบที่อินทนิลน้ำหน้าใบจะมันมากกว่าตะแบกอินเดียอินทนิลเป็นไม้กึ่งผลัดใบ คือถ้าขึ้นในที่แห้งแล้งจึงจะผลัดใบ เป็นไม้ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 8-15 เมตร เรือนยอดแผ่กว้างเป็นพุ่มกลม เปลือกค่อนข้างเรียบหรือลอกเป็นสะเก็ดบางๆสีเทา ถ้าผลัดใบจะผลัดใบประมาณเดือน พฤศจิกายน-เดือนมกราคมดอกจะออกหลังจากแตกใบใหม่ประมาณเดือน มีนาคม-เดือนพฤษภาคมอินทนิลนิยมปลูกเป็นไม้ประดับและให้ร่มเงาตามอาคารบ้านเรือนขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด เปอร์เซนต์การงอกประมาณ 60-80 เปอร์เซนต์จะออกดอกเมื่ออายุประมาณ 4-6 ปี

ต้นไม้ประจำจังหวัดเลย


สนสามใบ





ชื่อพฤกษศาสตร์ : Pinus kesiya Royle ex Gordon

ชื่ออื่น : สนสามใบ, สนเกี๊ยะหรือสนเขาวงศ์ : PINACEAE

ถิ่นกำเนิด : อินเดีย, ตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลยุนนาน, คาบสมุทรอินโดจีน และทางตอนเหนือ ของฟิลิปปินส์เป็นไม้ต้นสูงถึง 40 เมตร ทรงพุ่มรูปกรวยปลายแหลม เปลือกต้นหนาหลุดล่อนง่าย ใบรูปเข็มมีสามใบในแต่ละกลุ่ม ติดทนนานถึงสองปีจึงร่วงหล่นสนชนิดนี้พบในเมื่องไทยตามเทือกเขาสูง เช่น ภูกระดึง จังหวัดเลย ในอดีตไม่มีการอนุรักษ์หรือห้ามตัด ปัจจุบันมีปริมาณน้อยลง


ต้นไม้ประจำจังหวัด หนองคาย

ชิงชัน







ชื่อสามัญ : Rose Wood
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Dalbergia oliveri Gamble

วงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE

ชื่ออื่น : ชิงชัน, ประดู่ชิงชัน,ดู่ลาย

เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-25 เมตร ผลัดใบ ดอกช่อกลีบดอกแบบดอกถั่ว สีม่วงแดงหรือม่วงปนชมพู ออกที่ปลายกิ่ง

ออกดอกระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-เดือนมีนาคม เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีเนื้อไม้สวยงามมาก ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์เครื่องเรือน ชุดรับแขก

เดี๋ยวนี้คงหายากมาก แล้วและถ้ามีราคาก็น่ากลัวเอาการเชียวละ่